Open menu

จริต 6 ในตัวตน ดูได้จากรูปลักษณะมือและลายมือ

อ่านบทความเรื่องมือ 7 ประเภทของมนุษย์แล้วก็ให้นึกถึงจริตของมนุษย์ที่ปรากฏออกมาให้เห็น และจำแนกออกเป็น จริต 6 อย่างของมนุษย์   

หากจะว่าไปแล้วคนเราตราบใดที่ยังไม่ได้เข้าสู่การฝึกจิตให้ดีแล้วและยังคงดำเนินชีวิตเช่นอย่างธรรมดาสามัญเป็นปุถุชนคนเดินดิน  ก็ย่อมมีจริตในตัวครบทั้ง 6 จริต  ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจริตใดมากสุดก็แสดงออกเป็นบุคลิกนำและบุคลิกอื่นก็แสดงออกเป็นรองไปตามความเข้มข้นของแต่ละจริตที่มีอยู่ในตัวตน เช่นบางคนชีวิตนำโดยโทสะจริต ก็มักจะเป็นคนใจร้อนรวดเร็ว  ตรงไปตรงมา เจ้าระเบียบ ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามกำหนดกฏเกณฑ์ ทันต่อเวลา  ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในแต่ละจริต   การดูลายมือหรือดูลักษณะมือก็จะบอกได้ว่า เจ้าของมือมีลักษณะจริตแบบใดเพื่อนำไปแก้ไขข้อด้อยของตัวเอง ผมได้นำตัวอย่างจริตต่าง ๆ จากหนังสือของท่านอาจารย์   บุญชัย โกศลธนากุล, ดร. อนุสร จันทพันธ์, ดร. ผู้เขียนหนังสือ "จริต 6 : ศาสตร์ในการอ่านใจคน" นำมาฝากเป็นวิทยาทาน
ลองหามาอ่านเพิ่มเติมได้ครับ  
 
1.ราคะจริต
? ลักษณะ
• บุคลิกดี มีมาด
• น้ำเสียงนุ่มนวล ไพเราะ
• ติดในความสวย ความงาม ความหอม ความไพเราะ ความอร่อย
• ไม่ชอบคิด แต่ช่างจินตนาการ

?จุด แข็ง

มีความประณีตอ่อนไหว และละเอียดอ่อน ช่างสังเกตเก็บข้อมูลเก่ง
มีบุคลิกหน้าตาเป็นที่ชอบและชื่นชมของทุกคนที่เห็น วาจาไพเราะ
เข้าได้กับทุกคน เก่งในการประสานงาน
การประชาสัมพันธ์และงานที่ต้องใช้บุคลิกภาพ

? จุดอ่อน
• ไม่มีสมาธิ ทำงานใหญ่ได้ยาก
• ไม่มีเป้าหมายในชีวิต
• ไม่มีความเป็นผู้นำ
• ขี้เกรงใจ
• ขาดหลักการ
• มุ่งแต่บำรุงบำเรอผัสสะทั้ง 5 ของตัวเอง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
• ชอบคำพูดหวานหู แต่อาจไม่ใช่ความจริง
• อารมณ์รุนแรง ช่างอิจฉาริษยา ชอบปรุงแต่ง
? วิธีแก้ไข
• พิจารณาโทษของจิตที่ขาดสมาธิ
• ฝึกพลังจิตให้มีสมาธิเข้มแข็ง
• หาเป้าหมายที่แน่ชัดในชีวิต
• พิจารณาสิ่งปฏิกูลต่างๆ ของร่างกายมนุษย์เพื่อลดการติดใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
2. โทสจริต
? ลักษณะ
• จิตขุ่นเคือง โกรธง่าย
• คาดหวังว่าโลกต้องเป็นอย่างที่ตัวเองคิด
• พูดตรงไปตรงมา
• ชอบชี้ถูกชี้ผิด เจ้าระเบียบ เคร่งกฎเกณฑ์
• แต่งตัวประณีต
• เดินเร็ว ตัวตรงแน่ว
 
? จุดแข็ง
• อุทิศตัวทุ่มเทให้กับการงาน
• มีระเบียบวินัยสูง ตรงเวลา
• วิเคราะห์เก่ง มองอะไรตรงไปตรงมา
• พูดคำไหนคำนั้น
• มีความจริงใจต่อผู้อื่น สามารถพึ่งพาได้
• ไม่ค่อยโลภ
? จุดอ่อน
• จิตขุ่นมัว ร้อนรุ่ม
• ไม่มีความเมตตา
• ไม่เป็นที่น่าคบค้าสมาคมของคนอื่น ไม่มีบารมี
• ไม่มีความคิดสร้างสรรค์
• สร้างวจีกรรมเป็นประจำ
• มีโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย
 
? วิธีแก้ไข
• สังเกตดูอารมณ์ตัวเองเป็นประจำ
• เจริญเมตตาให้มากๆ
• คิดนานๆ ก่อนพูด และพูดทีละคำ ฟังทีละเสียง
• อย่างไปจริงจังกับโลกมากนัก
• เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ
• พิจารณาโทษของความโกรธต่อความเสื่อมโทรมของร่างกาย
 
3. โมหจริต
? ลักษณะ • ง่วงๆ ซึมๆ เบื่อๆ เซ็งๆ
• ดวงตาดูเศร้าๆ ซึ้งๆ
• พูดจาเบาๆ นุ่มนวลอ่อนโยน
• ยิ้มง่าย อารมณ์ไม่ค่อยเสีย ไม่ค่อยโกรธใคร
• ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบทำตัวเป็นจุดเด่น
• เดินแบบลอยๆ ขาดจุดหมาย ไร้ความมุ่งมั่น
 
? จุดแข็ง
• ไม่ฟุ้งซ่าน เข้าใจอะไรง่ายและชัดเจน
• มักตัดสินใจอะไรด้วยความรู้สึกได้ถูกต้อง
• ทำงานเก่ง โดยเฉพาะงานประจำ
• ไม่ค่อยทุกข์หรือเครียดมากนัก
• เป็นคนดี เป็นเพื่อนที่น่าคบ ไม่ทำร้ายคน
 
? จุดอ่อน
• ไม่มีความมั่นใจ มองตัวเองต่ำกว่าความจริง โทษตัวเองเสมอ
• หมกมุ่นแต่เรื่องตัวเอง ไม่สนใจคนอื่น
• ไม่จัดระบบความคิด ทำเหมือนไม่มีความรู้
• ไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่ชอบเป็นจุดเด่น
• สมาธิอ่อนและสั้น เบื่อง่าย
• อารมณ์อ่อนไหวง่าย ใจน้อย
 
? วิธีแก้ไข
• ตั้งเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน
• ฝึกสมาธิสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง
• ให้จิตออกจากอารมณ์ โดยจัดให้ร่างกายเคลื่อนไหว หรือเล่นกีฬา
• แสวงหาความรู้และต้องจัดระบบความรู้ความคิด
• สร้างความแปลกใหม่ให้กับชีวิต อย่าทำอะไรซ้ำซาก
 
4. วิตกจริต
? ลักษณะ
• พูดน้ำไหลไฟดับ
• ความคิดพวยพุ่ง ฟุ้งซ่าน ไม่อยู่ในโลกความจริง
• มองโลกในแง่ร้ายว่าคนอื่นจะเอาเปรียบ กลั่นแกล้งเรา
• หน้าบึ้ง ไม่ค่อยยิ้ม
• เจ้ากี้เจ้าการ อัตตาสูง คิดว่าตัวเองเก่ง
• อยากรู้อยากเห็นไปทุกเรื่อง
• ผัดวันประกันพรุ่ง
? จุดแข็ง
• เป็นนักคิดชั้นยอด มองอะไรทะลุปรุโปร่ง
• เป็นนักพูดที่จูงใจคนเก่ง เป็นผู้นำไนหลายวงการ
• ละเอียดรอบคอบ เจาะลึกในรายละเอียด
• เห็นความผิดเล็กน้อยที่คนอื่นมองไม่เห็น
? จุดอ่อน
• มองจุดเล็ก ลืมมองภาพใหญ่
• เปลี่ยนแปลงความคิดตลอดเวลา ไม่รักษาคำมั่นสัญญา
• มีแต่ความคิด ไม่มีความรู้สึก ไม่มีวิญญาณ ลังเล มักตัดสินใจผิดพลาด
• มักทะเลาะวิวาท เอารัดเอาเปรียบ ทำร้ายจิตใจผู้อื่น
• มีความทุกข์ เพราะเห็นแต่ปัญหา แต่หาทางแก้ไม่ได้
? วิธีแก้ไข
• เลือกที่จะคิด อย่าให้ความคิดลากไป
• ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติเพื่อสงบสติอารมณ์
• เลิกคิดอกุศลจิต คลายจากความฟุ้งซ่าน
• สร้างวินัย ต้องสร้างกรอบเวลา
• ฝึกมองภาพรวม คิดให้ครบวงจร
• หัดมองโลกในแง่ดี
• พัฒนาสมองซีกขวา
 
5. ศรัทธาจริต
? ลักษณะ • ยึดมั่นอย่างแรงกล้าในบุคคล หลักการ หรือความเชื่อ
• ย้ำคิดย้ำพูดในสิ่งที่ตนเองเชื่อถือและศรัทธา
• คิดว่าตัวเองเป็นคนดี น่าศรัทธา ประเสริฐกว่าคนอื่น
• เป็นคนจริงจัง พูดมีหลักการ
 
? จุดแข็ง
• มีพลังจิตสูงและเข้มแข็ง
• พร้อมจะเสียสละเพื่อผู้อื่น
• ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคมไปสู่สภาพที่ดีกว่าเดิม
• มีพลังขับเคลื่อนมหาศาล
• มีความเป็นผู้นำ
 
? จุดอ่อน
• หูเบา ถูกหลอกง่าย เรื่องของความเชื่ออยู่เหนือเหตุผล
• ยิ่งศรัทธามาก ปัญญายิ่งลดน้อยลง
• ไม่ประนีประนอม
• จิตใจคับแคบ ไม่ยอมรับความคิดที่แตกต่าง
• ทำได้ทุกอย่างแม้แต่ใช้ความรุนแรงเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
? วิธีการแก้ไข
• นึกถึงกาลามสูตร ใช้หลักเหตุผลพิจารณาเหนือความเชื่อ
• ใช้ปัญญานำทาง และใช้ศรัทธาเป็นพลังในการขับเคลื่อน
• เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ
• ลดความยึดมั่นในตัวกูของกู
• ลดความยึดมั่นถือมั่นในตัวบุคคลหรืออุดมการณ์
 
6. พุทธิจริต
? ลักษณะ
• คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล
• พร้อมรับความคิดที่แตกต่างไปจากของตนเอง
• มองเรื่องต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง ไม่ปรุงแต่ง
• ช่างสังเกต
• มีความเมตตา ไม่เอาเปรียบคน
• หน้าตาผ่องใส ตาเป็นประกาย ไม่ทุกข์
 
? จุดแข็ง
• เห็นเหตุผลชัดเจน และรู้วิธีการแห้ไขปัญหาต่างๆ อย่างถูกต้อง
• อัตตาต่ำ เปิดใจรับข้อเท็จจริง
• จิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่จมปลักกับอดีต และไม่กังวลกับสิ่งที่จะเกิดในอนาคต
• พัฒนาและปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ
• เป็นกัลยาณมิตร
 
? จุดอ่อน
• มีความเฉื่อยชา ไม่ต้องการพัฒนาจิตวิญญาณ
• ชีวิตราบรื่นมาตลอด หากต้องเผชิญพลังด้านลบอาจเอาตัวไม่รอด
• ไม่มีความเป็นผู้นำ จิตไม่มีพลังพอที่จะดึงดูดคนให้คล้อยตาม
 
? วิธีแก้ไข
• ถามตัวเองว่าพอใจแล้วหรือกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน
• เพิ่มพลังสติ สมาธิ พัฒนาจิตใจให้มีพลังขับเคลื่อนแรงขึ้น
• เพิ่มความเมตตา พยายามทำประโยชน์ให้สังคมมากขึ้น