Open menu

 ลายมือดารานักแสดง ลายมือนักร้อง ลายมือนักแต่งเพลง
คนเราจะเด่นจะดังเป็นดาราได้ จะต้องมีเส้นอะไรบ้างในมือ
คน สวยคนรวยมีมากมาย แต่อาจไม่เป็นที่รู้จักเหมือนดารา

ลายมือดารา,นักร้องนักแสดง หรือพิธีกรไม่ว่าจะเป็นวิทยุหรือโทรทัศน์  มักจะมีเนินพุธและเนินอาทิตย์เด่นมาก (การพูด หรือวาทะศิลป์ในการพูด การมีชื่อเสียงจาการใช้วาทศิลป์)    

ดาราไม่ว่าจะเป็นนักแสดง  นักร้อง  หรือดาราสาขาใด ๆ ก็ตาม จะต้องมีความเป็นอัจฉริยะในด้านที่เกี่ยวข้อง (อัจฉริยะภาพ 8 ด้านของคน) และคนเรานั้นจะมีอัจฉริยะได้นั้นส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์ หรือดวงที่ติดตัวมาแต่กำเนิด อีกส่วนหนึ่งมาจากพรแสวงหรือเรียกอีกอย่างว่าอัจฉริยะสร้างได้ และสิ่งที่เป็นพรสวรรค์ติดมาแต่กำเนิดก็ดูได้จากในมือนี่แหละครับ คนที่เป็นดารานักแสดงส่วนมากนิ้วมือยาวโดยเฉพาะนิ้วนาง(นิ้วอาทิตย์)จะยาวเป็นพิเศษ  และใต้นิ้วนางพื้นที่เนินอาทิตย์ก็ต้องอิ่มเต็ม มีเส้นอาทิตย์ตั้งตรงและสวยงาม ไม่มีเส้นตัด  แค่นี้ยังไม่เพียงพอสำหรับความมั่นคงหรือความคงอยู่ในแวดวงได้นานพอ จะต้องมีเนินพุธที่สวยงาม  และเนินในมืออื่น ๆ ก็ต้องไม่แฟบแบน  เส้นวาสนา และเส้นชีวิตก็ต้องสวยงาม สมบูรณ์ด้วยเช่นกัน  เส้นสมองก็ต้องสวยงามด้วยอีกเช่นกัน

   

นี่คือตัวอย่างเส้นลายมือศิลปินแห่งชาติ  คุณชินกร  ไกรลาศ  (จากหนังสือ อ.สมบัติ  รูปประดิษบฐ์) นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชธาน  เป็นศิลปินครูเพลงที่ยังคงเป็นที่รู้จักอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน

จะสังเกตเห็นได้ว่ามีเส้นอาทิตย์ที่สวยงามทั้งสองมือ และมีมือละสองเส้นด้วย  เส้นวาสนามาจากเนินจันทร์ทั้งสองมือ  เส้นสมองโค้งลงไปในแนวเนินจนทร์ เป็นคนที่มีจินตนาการกว้างไกล เป็นนักล่าฝันตามจินตนาการของตัวเองได้ หรือทำความฝันให้เป็นความจริง



ลายมือศิลปินแห่งชาติ-คุณชินกร ไกรลาส
ลายมือคุณชินกร ไกรลาส-ศิลปินแห่งชาติ    ลายมือคุณชินกร ไกรลาส-ศิลปินแห่งชาติ


 

ลายมือดารามือนักแสดง ลายมือนักร้อง ลายมือนักประพันธ์เพลง
 
 
ประวัติและผลงานเพลงนนท์ปิญา
 
 ครูเพลง นนท์ปิญา ผู้ประัพันธ์เพลง "แม่ยอดรัก" ขับร้องโดย วินัย  พันธุรักษ์
 
 
ประวัติและผลงานนนท์ปิญา

 

ครูเพลงนนท์ปิญา ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี มิถุนาย 2554  (อายุ 59 ปี)
 
ภาพลายมือครูเพลงนนท์ปิญา
 
 
ลายมือครูเพลงนนท์ปิญา
๑.เส้นวาสนา
๒.เส้นพฤหัส
3.เส้นอาทิตย์
     ๑-๑ เส้นวาสนา มาจากเนินจันทร์ (พื้นที่แสดงอารมณ์อ่อนโยน)  เส้นวาสนาผ่านเส้นสมองและมาสัมผัสเส้นหัวใจ และมีเส้นวาสนาเกิดใหม่บนเส้นใจใต้แนวเสาร์อีก 2 เส้น  ใกล้ ๆ เนินพฤหัสจะสังเกตเป็นรูปดอกบัว  แสดงว่าท่านยังมีโอกาสได้รับเกียติยศ ชื่อเสียงอยู่เสมอ ๆ  แม้อายุจะผ่าน 50-60 ปีไปแล้วก็ตาม สังเกตว่าเส้นอาิทิตย์ ๓ ยังชัดเจนแจ่มใสหมายถึงว่าท่านยังมีชื่อเสียง และมีโอกาสได้รับความสำเร็จอยู่เสมอเส้นพฤหัส ๒ หมายถึงประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ และความทะยานที่จะประสบผลสำเร็จ ใครก็ตามมีเส้นนี้ในมือเหมือนมีพรสวรรค์พิเศษในเรื่องอาชีพการงานกล่าวคือใครมีเส้นนี้มักจะเป็นคนที่สามารถนำความรู้หรือประสบการณ์ หรือนำสิ่งที่ตัวเองรักชอบมาพัฒนาเป็นอาชีพจนประสบผลสำเร็จได้ บางคนชอบงานช่างก็สามารถเป็นเจ้าของร้านซ่อมรถ หรือใครชอบเรื่องอาหารก็จะสามารถมีร้านอาหารเป็นของตัวเองได้  กรณีท่านนนท์ปิญาชอบแต่งกลอน ชอบบทกวี  ก็นำบทกลอนหรือบทกวีมาพัฒนาเป็นเพลงจนตัวเองประสบผลสำเร็จและยึดเป็นอาชีพได้  ส่วนจะสำเร็จมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับเส้นวาสนา  เส้นอาทิตย์ และเส้นอื่น ๆ ประกอบกันด้วย
 
 
ลายมือครูเพลงนนท์ปิญา
 
๑.เส้นวาสนา
๒.เส้นอาทิตย์
๓.เส้นเกียรติยศ
      ในมือนี้จะสังเกตเห็น เส้นวาสนา ๑-๑ มาจากเนินจันทร์เหมือนกับมือขวา  จึงยืนยันได้ว่าท่านจะรักและชอบในความอ่อนโยนของเสียงเพลง ดนตรี บทกวี หรือความอ่อนโยนนุ่มนวลในด้านอื่น ๆ   (ไม่ชอบความรุนแรงก้าวร้าวทุกประเภท) และเมื่ออะไรที่ชอบเป็นชีวิตจิตใจแล้วก็ย่อมจะมีอยู่อย่างนั้นคือเข้าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายและจิตใจ เมื่อมีเส้นพฤหัสดี เส้นอาทิตย์ดี จึงมีโอกาสได้สร้างผลงานและมีชื่อเสียง มาได้อย่างต่อเนื่อง เส้นอาทิตย์ ๒  ในมือนี้ไม่ค่อยจะดีนัก  คือมีปลายเส้นแยกออกหรือมีเส้นลากลงมาสัมผัสปลายเส้นหลัก  จึงไม่ได้เด่นดังได้ด้วยตัวเอง จึงอยู่เบื้องหลังคือเป็นคนทำให้คนอื่นดัง คนอื่นมีชื่อเสียง  อย่างไรก็ตาม เส้นเกียรติยศ ๓ สวยงาม และก็มีทั้งสองมือ จึงมีโอกาสที่จะมีชื่อเสียงเด่นดังได้แม้อายุจะพ้นผ่านช่วง 50-60 ปีไปแล้วก็ตาม รวมทั้งยังมีโอกาสมีเงินทองจากอาชีพที่ทำอยู่ได้อีก  
              ปี พ.ศ.2554 วันที่ 29 กรกฏาคม 2554 เป็นวัน"วันภาษาไทยแหน่งชาติ"  เพลงท่่านประพันธ์ "ลิขิตรักจากเบื้องบน"  ผู้ขับร้องได้รับรางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย
 
 
เพลงลิขิตรักจากเบื้องบน ขับร้องโดย นายอุเทน พรหมมินทร์
 
ประัพันธ์เพลงโดย  นนท์ปิญา
 

 
ผลงานเพลงบางส่วนเหล่านี้ท่านอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่า
 
เป็นผลงานเพลงของครูนนท์ปิญา
 
 
วิภา lelax corner   http://www.siam1009.com/viewProduct.do?clubId=1168&shopCategoryId=21457&productId=74334   ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์ -อยู่เพื่อลูก    กุ้ง กิตติคุณ เพชรประดับเพลง
 
ปี พ.ศ ที่แต่งเพลง

หลงรักหลงคอย                     2517 
อกพี่ยังคอย                        2518
เหลียวมองฉันบ้าง                    2519         
คนรักเมีย                       2519
นึกว่าตายจาก              2519
แม่ยอดรัก                     2523
ฉันยังรักเธอ                2523
รักที่เลือกไม่ได้           2524
ดาวลืมพี่                     2524
แอบรักเขา                   2525
นี่หรือรัก                                        2525               
รักหมดใจ                         2526
รักสำรอง                           2529
เมียตามใจ                          2546
เผลอแป๊บเดียว                              2546         
อกคนเศร้า                                  2550
รักที่เลือกไม่ได้(ช)                          2550
ลิขิตรักจากเบื้องบน                          2550
คู่เธอทุกชาติไป                                                     2552

" ๒๙ กรกฎาคม" วันภาษาไทยแห่งชาติ ปรับปรุงล่าสุด

วันนี้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม ของทุกปี

ประเทศไทยแม้ว่าจะไม่ใช่ชาติมหาอำนาจในโลก แต่ก็มีภาษาเป็นของตัวเอง เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจมาก

พ่อ ขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ใช้ ผ่านมาหลายร้อยปีภาษาไทยก็ยังคงเป็นภาษาไทยสวยงาม ยามได้ฟัง..แล้วเยาวชนคนรุ่นหลังใยจะให้ภาษาไทยต้องวิบัติไปด้วยครับพี่น้อง

มาช่วยกันรักษาให้คงอยู่คู่ชาติไทยไปตลอดกาล...

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ

สืบ เนื่องจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย รวมถึงเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและ ความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์,วันสื่อสารแห่งชาติ เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ 

เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

สำหรับ เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้นเพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทย ซึ่งเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความตอนหนึ่งว่า "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."

นับเป็นครั้งแรกและครั้ง เดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ซึ่งในโอกาสต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "ใน ปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ"

ข้อมูลจากกระปุกดอดคอม

และในวันภาษาไทยแห่งชาติปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลในแต่ละแขนงมากมายหลายท่าน

ส่วน โครงการรางวัล เพชรในเพลง ครั้งที่ 8 ซึ่งจะมอบให้กับนักร้อง เพลงไทยสากล-ลูกทุ่ง ที่ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย มีผู้ได้รับการประกาศยกย่อง ดังนี้

รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต ได้แก่

  • เพลงบ้านเรา ประพันธ์โดย นายชาลี อินทรวิจิตร
  • เพลงกลิ่นโคลนสาบควาย ประพันธ์โดย คือ นายไพบูลย์ บุตรขัน

รางวัลประเภทการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่

  • เพลงบ้านเราจะเหมือนเดิม ประพันธ์โดย นายประภาส ชลศรานนท์
  • เพลงกราบดิน ประพันธ์โดย นายปฏิเวธ อุทัยเฉลิม (ฟองเบียร์)
  • เพลงเพลงของเธอ ประพันธ์โดย นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา
  • เพลงเทียนไขไฟฟ้า ประพันธ์โดย นายสิปปภาส รักวงค์ (ปาน ประกาศิต)

รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่

  • เพลงลิขิตรักจากเบื้องบน ขับร้องโดย นายอุเทน พรหมมินทร์
  • เพลงขอไปให้ถึงดาว ขับร้องโดย น.ส.ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร)
  • เพลงสัญญาก่อนนอน ขับร้องโดย นายสร่างศัลย์ เรืองศรี (หนูมิเตอร์ อาร์สยาม)
  • เพลงกลัว ขับร้องโดย น.ส.เตือนใจ ศรีสุนทร (ฝน ธนสุนทร)

อยากจะให้ชมให้ฟังจนครบก็กลัวว่าจะยาวไป จึงขอนำเสนอเพียง 3 ตัวอย่างตามลำดับดังนี้ครับ

** รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต ได้แก่ เพลงกลิ่นโคลนสาบควาย ประพันธ์โดย คือ นายไพบูลย์ บุตรขัน
** รางวัลประเภทการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่ เพลงบ้านเราจะเหมือนเดิม ประพันธ์โดย นายประภาส ชลศรานนท์
** รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่ เพลงกลัว ขับร้องโดย น.ส.เตือนใจ ศรีสุนทร (ฝน ธนสุนทร)