Open menu

 

 ซื้อตำราหรือสมัครเรียนคลิกอ่านเพิ่มเติม-หนังสือคู่มือเรียนลายมือจากมือจริง

พร้อม DVD ประกอบการเรียนการสอน

โดย อ.ธนพงศ์  หลักนครพล

**********************************************

 

มือและโครงสร้างของ

มือ คือพื้นฐานแรกที่ต้องเรียนรู้ลายมือ

ภาพที่ 1 โครงสร้างหลักหรือองค์ประกอบของฝ่ามือ

เรียนลายมือบทที่ 3.1 โครงสร้างของมือ

เรียนลายมือบทที่ 3.2 โครงสร้างของมือ


เรียนลายมือบทที่ 3.3 โครงสร้างของมือ


มือและองค์ประกอบหลัก ๆ ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้ ทั้งนี้เพื่อให้มีพื้นฐานในการรับรู้ร่วมกัน เป็นหลักการที่ต้องเริ่มต้นเหมือนเรียนภาษาใด ๆ ตัวอักษรหรือพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ต่าง ๆ ต้องท่องจำและจดจำให้ได้อย่างขึ้นใจ  เมื่อเรียกขานชื่อหรือกล่าวถึงจะได้เข้าใจในสถานะและตำแหน่งที่ถูกต้องตรงกัน กล่าวอีกในหนึ่งนี่ก็เปรียบได้กับตัวละครหลักที่ต้องจดจำชื่อให้ได้ เพราะชื่อเรียกเหล่านี้จะพูดถึงตลอดเหมือนตัวละครในท้องเรื่องที่ดำเนินไปและทั้งหลายทั้งหมดจะมีบทบาทตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มจาก

   1.ข้อมือ คือส่วนล่างสุดของมือที่เชื่อมต่อระหว่างรอยแยกของกระดูกแขนกับกระดูกมือ คนที่ผอมหรือกระดูกโตจะสังเกตได้ไม่ยาก  สำหรับคนที่อ้วน เจ้าเนื้อ หรือกระดูกเล็กต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งจับดู หรือหากคว่ำมือลงและกำมือจะเห็นกระดูกข้อมือชัดเจน ซึ่งก็เป็นแนวเดียวกันกับด้านฝ่ามือ ดูตัวอย่างในภาพด้านล่าง(ภาพที่ 2) ซึ่งจะสามารถลากเส้นสมมติจากด้านหลังมือมาด้านฝ่ามือได้ ข้อมือทำให้ทราบที่สิ้นสุดและจุดเริ่มต้นของฝ่ามือ ซึ่งจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวัดความยาวของนิ้วมือและฝ่ามือ

ภาพที่ 2 แนวสร้อยข้อมือดูจากด้านหลังมือ

2.สร้อยข้อมือ อยู่เหนือตำแหน่งข้อเมือขึ้นมา บางคนก็มีหลายเส้น  บางคนก็มีเส้นเดียว สร้อยข้อมือที่มีคุณภาพดีคือเส้นคมชัดตลอด เส้นสวยงามสดใส ไม่แตกไม่ขาด  ก็สื่อถึงคุณภาพ ความมั่นคงของชีวิต ความสุข ความสำเร็จของเจ้าของมือได้อีกทางหนึ่งด้วย

3.ซ่นมือ(ส้นมือ)หรือฐานมือ คือตำแหน่งล่างสุดของฝ่ามือเมื่อหันด้านฝ่ามือเข้าหาตัวเองทำมุมตั้งฉาก  จะมองเห็นฝ่ามือและนิ้วมือทั้งหมด ซ่นมือนี้เป็นตำแหน่งสิ้นสุดของเส้นชีวิต ในทางกลับกันก็อาจนับเป็นจุดเริ่มก็ได้สำหรับเส้นวาสนาหรือเส้นใด ๆ ที่มีจุดกำเนิดจากฐานมือ เช่นอาจเป็นตำแหน่งเริ่มต้นของเส้นวาสนา หรืแม้แต่เส้นอาทิตย์ของบางมือก็ได้

4.ริมมือ คือตำแหน่งด้านนอกสุดของฝ่ามือนับจากโคนนิ้วก้อยถึงสร้อยข้อมือตรงตำแหน่งเนินจันทร์ เป็นตำแหน่งที่มีจุดกำเนิดของเส้นใจ(จิตใจ) และเส้นเรื่องคู่(เส้นสมรส) และเนินหลัก 3  เนิน คือเนินจันทร์ เนินอังคารสูง และเนินพุธ นอกจากนั้นยังแบ่งเป็นเนินย่อย อีก 4 เนิน คือเนินพิฆาต เนินรวดเร็ว เนินอ่อนโยน และเนินวิปริต ซึ่งจะได้กล่าวถึง(เนินในมือ)ในลำดับถัดไป

5.ช่องนิ้ว ระหว่างนิ้วมือตั้งแต่นิ้วก้อยถึงนิ้วชี้จะมีช่องนิ้วอยู่ 4 ช่องสำหรับบางมือก็มองเห็นชัด (นิ้วห่าง เป็นรูปตัว U) บางมือก็มองไม่เห็นช่องใด ๆ เพราะนิ้วชิดติดกัน ช่องทั้ง 3 นี้มีชื่อเรียกและมีนัยยะที่จะต้องพูดถึงในลำดับถัดไป (ช่องสิ้นเปลือง  ผิดหวัง เสียหาย)

6.ง่ามมือ คือส่วนของที่ว่างระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้  เป็นตำแหน่งสำคัญที่มีจุดกำเนิดของเส้นหลัก 2 เส้นคือเส้นสมองกับเส้นชีวิต และเนินในมืออีก 2 เนินคือเนินอังคารต่ำและเนินพฤหัส ฯ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในลำดับถัดไป

7.นิ้วมือ  ทั้ง 5 จากหัวแม่มือ  นิ้วชี้  นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย แต่ละนิ้วและข้อนิ้วก็มีความหมายและนัยยะซ่อนอยู่จะได้เรียนรู้ในลำดับถัดไป

8.ฝ่ามือ คือตำแหน่งรวมในฝ่ามือนับจากซ้ายไปขวาก็คือจากง่ามมือถึงริมมือ จากล่างขึ้นบนก็คือจากซ่นมือไปสิ้นสุดแนวช่องนิ้วทั้ง 4 ตรงตำแหน่งเส้นขัดข้อนิ้ว ดังภาพที่ 1 ที่ลากลูกศรแสดงให้เห็น ในฝ่ามือ และนี่คือศูนย์รวมของแผนที่ผืนใหญ่ มือซ้ายและมือขวาก็เปรียบได้กับแผนที่ 1 แผ่นที่พับครึ่งแบ่งไว้และแยกไว้(จะดูแผนที่ก็นำมาต่อกันทั้งสองมือ) ในมือซ้ายและมือขวามีเนินในมือ เส้นหลัก เส้นรอง และเครื่องหมายต่าง ๆ แสดงไว้ เปรียบได้กับพื้นดิน ภูเขา แม่น้ำ ถนนเส้นหลักเส้นรองให้เจ้าของมือได้ศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจก่อนเดินทางไปสู่เป้าหมายใด ๆ ก็ตาม  คนเราทุกวันนี้มุ่งไปข้างหน้าโดยไม่ดูแผนที่ของตัวเอง อาจผิดอาจถูก โชคดีโชคร้ายแตกต่างกันไป  แต่หากใครมีแผนที่และเข้าใจก็ย่อมไปถึงเป้าหมายได้อย่างปลอดภัย ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรไปแบบเปล่าประโยชน์และทันต่อเวลา

ภาพที่ 3 พื้นที่หรือเขนพรมแดนอ้างอิงบนฝ่ามือ

  พื้นที่บนฝ่ามือตามภาพที่ 3 นี้เป็นการตั้งชื่อเรียกเพื่อให้ง่ายต่อการอธิบายหรือบอกตำแหน่งเมื่อการพูดถึงจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุดหรือความเชื่อมโยงของเส้นหรือเครื่องหมายต่าง ๆ เปรียบได้กับเส้นแบ่งเขตแดนบนแผนที่ ประกอบด้วย

 1.พื้นที่ตอนบนเส้นใจ คือนับจากเส้นใจขึ้นไปถึงเส้นรัดข้อนิ้วทั้งสี่นับจากเนินใต้นิ้วคือ เนินพฤหัส ฯ(นิ้วชี้) เนินเสาร์ (นิ้วกลาง) เนินอาทิตย์ (นิ้วนาง) เนินพุธ (นิ้วก้อย)

2.พื้นที่ตอนบนเส้นสมอง คือพื้นที่ตอนบนเส้นสมองไปถึงใต้เส้นใจ  มีข้อสังเกตว่าบางคนเส้นใจสั้นเพียงเนินเสาร์ก็ให้ลากเส้นสมมุติไปถึงเนินพฤหัส ฯ  ส่วนบางคนเส้นใจยาวเข้าถึงเนินพฤหัส ฯ การแบ่งพื้นที่สองส่วนนี้ก็ไม่มีปัญหาให้ยุ่งยาก

3.พื้นที่ภายใน (จากฝ่ามือใต้เส้นสมองถึงริมมือ) หากกลับไปดูภาพที่ 1 จะเริ่มเข้าใจว่าริมมือคือจากตำแหน่งใด เริ่มต้นและสิ้นสุดที่ใด

4.พื้นที่ภายนอก (จากฝ่ามือใต้เส้นสมองไปถึงง่ามมือและบริเวณเนินศุกร์)แบ่งกันระหว่างพื้นที่ภายในกับภายนอกด้วยเส้นชีวิต

  ทีนี้การพูดถึงพื้นที่หรือการอ้างอิงก็จะกระชับขึ้นในการขานตำแหน่ง  กรณีตัวอย่างเช่น การพูดถึงเส้นวาสนาที่บอกว่าเส้นวาสนาเกิดจากที่ใดก็ได้แต่ทิศทางอยู่ที่เนินเสาร์ (ใต้นิ้วกลาง) เส้นวาสนาอาจเกิดจากพื้นที่ภายใน, พื้นที่ตอนบนเส้นสมอง หรือแม้แต่พื้นที่ตอนบนเส้นใจ การสิ้นสุดของเส้นวาสนาไม่แน่ว่าจะต้องไปถึงใต้เนินเสาร์ บ้างก็สิ้นสุดลงเพียงพื้นที่ตอนบนเส้นสมอง  บ้างก็เกิดขึ้นเพียงสั้น ๆ และหยุดลงเพียงพื้นที่ภายใน   จะเห็นได้ว่าการกำหนดพื้นที่ทำให้ง่ายต่อการอธิบายและง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้เรียนลายมือได้อีกทางหนึ่ง

ภาพที่ 4 การวัดความยาวของฝ่ามือกับนิ้วมือ

 

ภาพที่ 4-A เหตุผลในการวัดความยาวของฝ่ามือกับนิ้วมือดูจากภายใน

การวัดความยาวของฝ่ามือกับนิ้วมือ  จุดประสงค์เพื่อทราบความยาวระหว่างนิ้วมือกับฝ่ามือ นิ้วมือสื่อไปถึงความคิด กระบวนการทางความคิดและการตัดสินใจ  ส่วนฝ่ามือสื่อถึงการลงมือทำ การปฏิบัติ 

    เป็นความเข้าใจโดยพื้น ๆ(แต่ไม่ถูกต้อง)  ส่วนใหญ่คนเราจะมองแต่ด้านฝ่ามือเป็นหลักในการดูลายมือ รวมถึงการวัดความยาวของนิ้วมือกับฝ่ามือ  หากมองด้านฝ่ามือแล้วคงหายากมากที่จะมีใครมีนิ้วมือยาวกว่าฝ่ามือ (ดูภาพที่ 4 รูปที่ 1-2 ตำแหน่ง d ถึง e คือความยาวของนิ้วมือ  จากตำแหน่ง e ถึง f คือความยาวของฝ่ามือ) ที่ถูกต้องคือต้องวัดจากด้านหลังมือ ตามภาพที่ 4 รูปที่ 1-1 ตำแหน่ง a ถึง b คือความยาวของนิ้ว ลองกำมือหรือห่อมือเข้าสักเล็กน้อยจะเห็นตำแหน่งกระดูกมือกับนิ้วมือที่แบ่งได้อย่างชัดเจน จากตำแหน่ง b ถึง c คือความยาวของฝ่ามือ ตรงตำแหน่ง c บางคนสังเกตได้ง่ายจะมีรอยเส้นพับเห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะเป็นแนวเดียวกันกับกระดูกที่เชื่อมต่อกันระหว่างกระดูกฝ่ามือกับกระดูกแขน ภาพประกอบเพิ่มเติม 4-A คือเหตุผลประกอบที่แสดงให้เห็นถึงการวัดความยาวของมือกับฝ่ามือโดยใช้กระดูกนิ้วมือกับกระดูกฝ่ามือเป็นเกณฑ์หลักซึ่งเป็นการวัดจากภายในเลยทีเดียว(วัดจากความยาวของกระดูกนิ้วมือกับฝ่ามือ)

ส่วนภาพ 4 รูปที่ 1-2 เป็นด้านฝ่ามือจะใช้วัดรูปมือว่าเป็นมือสั้นหรือมือยาว เป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่าหรือผืนผ้า หรือเป็นรูปแบบอื่น จะไม่นำเรื่องกระดูกนิ้วกับกระดูกมือมาเกี่ยวข้องแล้ว แต่จะดูพื้นที่ในมือทั้งหมดเป็นหลัก  พูดอีกนัยหนึ่งก็คือวัดขนาดกว้าง ยาว ของฝ่ามือ e ถึง f  เป็นการวัดความยาว ของมือ ส่วน g ถึง h เป็นการวัดด้านกว้างของฝ่ามือ  มือสี่เหลี่ยมผืนผ้า กับสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผลตอบรับก็แตกต่างกันทั้งรูปธรรมและนามธรรม

ภาพที่ 5  ข้อนิ้วมือ

ข้อนิ้วในมือแต่ละนิ้ว ก็มีความหมายและความสัมพันธ์กับเจ้าของมือ  เราจะสังเกตเห็นคนที่โคนนิ้วมืออิ่มจนแนบชิดติดกันมองไม่เห็นช่องว่างใด ๆ(ช่องนิ้วมือ)  กับคนที่มองเห็นช่องโคนนิ้วห่างกันเมื่อยกฝ่ามือขึ้นมองแนวตั้ง คนทั้งสองจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่อุดมและการใช้จ่ายที่แตกต่างกันมาก เมื่อข้อนิ้วข้อล่างสุดคอผลที่ได้รับ(ผลลัพธ์) หรือการตอบแทนที่เป็นวัตถุหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม คนที่มีนิ้วข้อล่างสุดอิ่มเต็มกว่าก็ย่อมได้ผลหรือการตอบสนองทางวัตถุที่มากกว่า  ปกตินิ้วคนเราจะมีเส้นแบ่งข้อนิ้วออกเป็น 3 ข้อ ข้อบนสุดสื่อถึงอุดมคติหรือความคิด ข้อกลางคือสติหรือการกระทำ ส่วนข้อล่างสุดคือวัตถุหรือผลที่ได้รับหรือผลสำเร็จตอบแทนที่เป็นรูปธรรม นิ้วชี้ก็ว่าด้วยคุณสมบัติของนิ้วพฤหัส(เนินพฤหัส) นิ้วกลางก็ว่าด้วยนิ้วเสาร์(เนินเสาร์) นิ้วนาง นิ้วก้อย ก็ได้รับอิทธิพลจากเนินอาทิตย์ และเนินพุธตามลำดับ  อ่านเพิ่มเติมเรื่องเนินที่อยู่โคนนิ้วทั้ง 4 คลิกอ่านเนินในมือ

 

ภาพที่ 6 การวัดมาตรฐานเนินในมือ

เนินในมือที่อยู่ตำแหน่งใต้นิ้วทั้ง 4 มีความสำคัญกับเข้าของมือมาก  ความได้มาตรฐานจะเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จได้อีกทางหนึ่ง  คนเราในมือแม้จะมีเส้นใด ๆ สมบูรณ์แต่เนินไม่ได้มาตรฐานก็เหมือนคนที่มีเครื่องไม้เครื่องมือครบถ้วน  แต่ไปทำอะไรไม่ถูกที่ถูกทาง หรือปลูกพืชลงในดินที่ไม่อุดมหรือไม่เหมาะกับพืชพันธุ์  ผลตอบแทนก็ย่อมไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น

ภาพที่ 6 รูปที่ 2-1 เป็นมือที่เรียกว่าลายมือขาด  ภาพที่ 2-2 ลายมือปกติทั่วไป มี 3 เส้นหลักในมือ  มาตรฐานความสูงของเนินก็ย่อมแตกต่างกัน  เนินใต้นิ้วทั้งสี่ที่เป็นมาตรฐานในมือปกติคือ 20,25,30,20 มิลลิเมตร (ม.ม.) โดยวัดจากเส้นรัดข้อข้อล่างสุดของแต่ละนิ้วลงมือถึงตำแหน่งเส้นหลักในมือคือเส้นใจ และเส้นพฤหัส (ดูภาพประกอบ ภาพที่ 6 รูปที่ 2-2)  ความได้มาตรฐานจะมีผลตอบรับกับความหมายของเนินและเส้นต่าง ๆ ในมือ  กรณีตัวอย่าง คนที่มีเนินจันทร์สมบูรณ์หมายถึงเป็นผู้ที่มีความคิดหรือจินตนาการที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์  ถ้าเนินในมือทั้ง 4 ได้มาตรฐาน ความคิดความฝันนั้นก็จะเป็นผลสำเร็จได้ แต่ถ้าเนินทั้ง 4 ไม่ได้มาตรฐานก็เป็นเพียงคิดฝันที่ไม่เป็นจริงได้ อนึ่งจะต้องนำความหนาของมือ ความนุ่มแข็งของมือ เข้ามาประกอบด้วย คนที่มีมือหนาที่เหมาะสมดี  จะเป็นพลังขับให้เกิดความสมบูรณ์ตามมาตรฐานของเนินได้มากว่าคนที่มือบาง   คนที่มีมือแข็งยืดหยุ่นดี  จะเข้าสู่ความสำเร็จได้มากว่า  ส่วนคนที่ลายมือขาดตามภาพที่ 6 รูปที่ 2-1  ก็ให้เพิ่มตัวเลขไปอีก เนินละ 5 ม.ม.คือ 25,30,35,25 ม.ม. เริ่มจากเนิน พฤหัส,เสาร์,อาทิตย์,จันทร์  ตามลำดับ (เฉพาะเนินพฤหัส ในลายมือขาด อาจหากต่ำกว่า 25 ม.ม. แต่ก็ไม่น้อยกว่า 20 ม.ม. ก็ยังคงถือว่าได้มาตรฐาน)

ภาพที่ 7 การแบ่งเนินในมืออย่างละเอียด

เนินในมือ หลายท่านที่เคยอ่านเคยศึกษาเรื่องลายมือมาบ้างแล้วก็ได้ผ่านตาและทราบ แล้วในตำราลายมือทั่วไป ส่วนใหญ่ก็เห็นจะมีเพียง 9 เนิน-10 เนิน  ประกอบด้วย 1. เนินจันทร์  2. เนินอังคารสูง 3.เนินพุธ 4.เนินอาทิตย์ 5.เนินเสาร์ 6. เนินพฤหัสบดี 7.เนินอังคารต่ำ 8. เนินศุกร์  9.เนินกลางมือ-พื้นที่ราบอังคาร 10.เนินหลักทรัพย์ (ดูภาพประกอบ ภาพที่ 7-A ) คลิกอ่านความหมายของเนินต่างๆ เพิ่มเติมเป็นการปูพื้นทำความเข้าใจ  (คลิกอ่าน 9 เนินในฝ่ามือ)

เมื่อเข้าใจได้ความรู้รวมถึงจำได้ทั้ง 9-10 เนินที่เป็นพื้นฐานเรื่องเนินในมือแล้ว   ถ้าท่านอยากจะเป็นหมอดูลายมือหรือเรียนรู้ลายมือให้แตกฉานอ่านลายมือได้และถูกต้องแม่นยำเป็นพิเศษละก็  ต้องแบ่งเนินในมืออกเป็น 19 เนินดังรายละเอียดตามภาพที่ 7 (มีตัวเลขแสดงไว้เพียง 14 เนิน มีบางเนินที่แบ่งเป็นเลขย่อยไว้ รวมแล้ว 19 เนิน)

ภาพที่ 7-A การแบ่งเนินในมือทั่วไป

มาเริ่มทำความรู้จักความหมายของเนิน ทั้ง 19 เนินนี้ เพิ่มขึ้นจากที่เคยได้รับรู้มาบ้างแล้ว  ความรู้ที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ จะทำให้ท่านพยากรณ์แบบเจาะลึกหรือแยกแยะลงไปได้อย่างมีันัยยะสำคัญ เมื่อท่านอ่านลายมือใครก็ตามที่เส้นลายมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเนินใด ๆ ท่านจะเห็นความจริงว่าเป็นอย่างนั้น   ต่อไปนี้ผมจะนำเนินทั้ง 14 เนินมาอธิบายพอสังเขป แต่ท่านก็สามาถนำไปใช้ได้จริง มาเริ่มกันเลยนะครับ (ใช้ ภาพที่ 7 ดูประกอบ)  เนินในมือของแต่ละคนจะให้คุณมากน้อยหรือได้รับพลังจากเนินในมือตามคุณลักษณะของแต่ละเนินนั้นก็ให้นำหลักการนี้ไปประกอบเสมอ

      -เนินในมือที่จะให้คุณหรือพลังในด้านดี สนับสนุนให้เจ้าของมือได้รับความสุขความสำเร็จได้มากก็คือเนินที่มีความอุดม พื้นที่เนินในมือโดยรวมอิ่มเต็มและนูนขึ้นพอประมาณ ไม่นูนเด่นเกินไป ไม่นูนเด่นเฉพาะบางเนิน ไม่มีตำแหน่งเนินที่ยุบหรือบุ่มลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่กลางฝ่ามือ   เนื้อในมือหรือผิวในฝ่ามือมีลักษณะนุ่ม(ไม่เป็นไตแน่นหรือแข็งกระด้าง)  มีสปริงยืดหยุ่นดีเมื่อกดนิ้วลงไป  หากนอกเหนือไปจากนี้ก็มีลักษณะที่ด้อยหรือไม่ส่งผลในด้านบวกเท่าที่ควรหรืออาจถึงขั้นเสียหายได้ เป้นต้นว่า เนินที่มีลักษณะนูนเด่นมากเกินไป หรือนูนเด่นขึ้นเป็นบางเนินก็หมายถึงความโลภหรือความต้องการที่มากเกินพอดี  การได้มาไม่ว่าจะด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็มักไม่ถูกต้องปกตินักหรืออาจได้มาไม่ต่อเนื่อง ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ  ส่วนเนินที่มีลักษณะแฟบแบนก็มักจะได้รับผลตอบแทนหรือการตอบสนองที่ไม่คุ้มค่้าหรือไม่เป็นไปตามที่ตั้งหวังไว้  ไม่มีอะไรง่าย ๆ คล้ายกับพื้นดินที่แห้งแล้งการประกอบการในด้านเกษตรกรรมมักเสียหายหรือได้ผลไม่คุ้ม ส่วนกรณีเนินในมือที่ยุบหรือบุ๋มลงอันนี้นอกจากจะไม่ได้หรือไม่เป็นผลในด้านดีแล้วแล้วยังเสียหายหรือส่งผลในด้านลบให้กับเจ้าของมือด้วย   

คลิกอ่านเพิ่มเติม เนินในมือ

 


การเรียนรู้ลายมือ เรียงตามลำดับ

อ่านทบทวนพื้นฐาน-ขั้นตอนการเรียนลายมือตามลำดับ คลิกเข้าไปอ่านแต่ละหัวข้อ

1.ลักษณะนิ้วมือ-สาระและความหมายสื่อถึงกระบวนการทางความคิด การคิด การตัดสินใจ

2.ลักษณะมือ-สาระและความหมายสือถึงบุคคลิคลักษณะ จริต อุดมคติของมือแต่ละประเภท

3.ส่วนประกอบของมือ-สาระและความหมายสื่อถึงตำแหน่งที่เรียก เส้นแบ่งเขตพรมแดน

4.เนินในมือ-ลักษณะ สาระและความหมายที่เปรียบได้กับผืนดินแผ่นน้ำในแผนที่


หลังจากได้พื้นฐานเรื่อง รูปลักษณ์นิ้วมือ ลักษณะมือ และเนินในมือครบถ้วนแล้ว  ก็เข้าสู่เรื่องสำค้ญหลัก ในลำดับต่อไปนี้คือ

คลิกอ่าน  ลายมือเส้นหลักที่ต้องเรียนรู้